hot-weather-content

วันที่ 15 มีนาคม นาย จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าปีนี้จะยิ่งร้อนกว่าปีก่อน เพราะมีมวลอากาศร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากปกติในรอบ 50 ปี พัดเข้ามาปกคลุม โดยในแผนที่มวลอากาศพบว่า ประเทศไทยจะร้อนที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนในช่วงวันที่ 17-19 มีนาคม นี้ และสิ่งที่น่ากังวลคือ คือมวลอากาศดังกล่าวมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นคลื่นความร้อน หรือ "ฮีตเวฟ" ได้ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นและร้อนในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเลยทีเดียวทั้งนี้ คลื่นความร้อนจะเกิดได้เมื่อมีองค์ประกอบ คือ อากาศมีอุณหภูมิร้อนเกิน 42 องศาเซลเซียสติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง มีความชื้นสัมพัทธ์ หรือหน่วยวัดระดับความชื้นในอากาศที่ใช้คำนวณมวลของไอน้ำใน มีค่าเกิน 70%

นายจิรพล กล่าวว่า คลื่นความร้อนจะรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับอากาศในพื้นที่ นั้นหรือบริเวณนั้นนิ่งหรือมีการถ่ายเทหรือไม่ โดยกลุ่มที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน คือ เด็กที่ต่ำกว่า 5 ขวบซึ่งระบบระบายความร้อนในร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่ ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 70 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวและโรคบางชนิดที่ระบบระบายความร้อนในร่างกายทำงานบกพร่อง

"ปีที่แล้วเคยเกิดคลื่นความร้อนขึ้นที่อินเดียประชาชนเสียชีวิตจากคลื่นความร้อนทั่วประเทศกว่า 2,500 คน จนต้องมีการประกาศมาตรการรับมือด้วยการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 7 วัน จัดเตรียมน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคเพิ่มเติม จัดเตรียมที่ พักติดเครื่องปรับอากาศตามสถานที่ต่าง ๆ อนุญาตให้คนงานหยุดพักในช่วงเวลาบ่าย ให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับอันตรายของคลื่นความร้อน จัดเตรียมถุงน้ำแข็งและน้ำสำหรับโรงพยาบาล รวมถึงฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญแม่นยำในการสังเกตและวินิจฉัยผู้ที่มีอาการภาวะเครียด จากความร้อน ภาวะร่างกายขาดน้ำ ประเทศไทยเองก็ควรมีการประกาศข้อพึงปฏิบัติที่เป็นการทำงานเชิงรุกและวางแผนล่วงหน้าเพื่อป้องกันการสูญเสียและควรดำเนินการทันที" นายจิรพลกล่าว

ด้านนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุทธยา อนุกรรมการวิชาการ ในกรรมการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบเมืองหลวงของทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนแล้ว พบว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแทบทุกปี กรุงเทพมหานคร ครองแชมป์ อากาศร้อนที่สุดมาตลอด เพราะสภาพโดยรวม แม้ว่าจะเป็นเมืองกลางทุ่ง ไม่มีภูเขา และอยู่ติดทะเลก็จริง แต่มีปัจจัยอื่นที่ที่ทำให้มีอากาศร้อนกว่าประเทศอื่นๆ เช่นเรื่องของจำนวนสิ่งก่อสร้าง และปริมาณต้นไม้ เช่นเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ ที่ตั้งอยู่ในละติจูดที่ใกล้เคียงกัน แต่ฤดูร้อนของทุกปี เมืองหลวงของสิงคโปร์ จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า กรุงเทพมหานครประมาณ 2-3 องศาเซลเซียสเสมอ ประเด็นนี้มีปัจจัยที่สำคัญคือ ประเทศสิงคโปร์ เป็นเกาะเปิด มีลมจากรอบทิศ และมีต้นไม้มากกว่ากรุงเทพมหานครมาก

 

 

ที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1458038408

http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%
E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B9%89%
E0%B8%AD%E0%B8%99/